หลายครั้งที่เรารู้สึกว่าเราไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีโรคภัยไข้เจ็บแบบที่ไม่รู้สาเหตุ หรือรู้สึกอ่อนเพลียในบางเวลาจนทำให้ไม่สามารถทำงานได้ เหล่านี้ล้วนมีผลมาจาก นาฬิกาชีวภาพ ในตัวเรานั่นเอง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การหลั่งฮอร์โมนและสรีรวิทยาของร่างกายในรอบหนึ่งวัน ทำให้มนุษย์สามารถรับมือกับช่วงเวลากลางวัน-กลางคืนได้อย่างเหมาะสม สิ่งนี้เป็นผลมาจากการปรับสภาพของร่างกายในรอบวันที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก
นาฬิกาชีวภาพคือการที่ร่างกายของคนเรามีการปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในระหว่างวัน เช่น การที่เรารู้สึกง่วงในตอนกลางคืน หรือการที่เรารู้สึกสดชื่นในช่วงเช้า และรู้สึกเพลียในช่วงบ่าย เป็นต้น โดยนาฬิกาชีวภาพนี้มีผลกระทบไม่ใช่กับมนุษย์เท่านั้น แต่มันยังเกิดขึ้นกับพืช สัตว์ ไปจนถึงจุลินทรีย์ด้วย
นาฬิกาชีวภาพมีผลต่อสุขภาพของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะนาฬิกาในร่างกายเราจะช่วยในการควบคุมพฤติกรรม ระดับฮอร์โมน การนอนหลับ ฯลฯ ให้ทำงานอย่างเหมาะสมกับช่วงเวลาต่างๆในแต่ละวัน มีหลักฐานงานวิจัยจำนวนมากขึ้นชี้ว่านาฬิกาชีวภาพนี้มีผลต่อความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวาน โรคอ้วน มะเร็ง และโรคที่เกิดจากความเสื่อมของสมองมากกว่าคนทั่วไป
อ้างอิง:
https://thestandard.co/sciencefind-biologicalclock-nobelprize2017/
https://www.ay-sci.go.th/aynew/630830-4/