จะดีกว่าไม๊ถ้ามีสมองที่ 2 มาช่วยจำสิ่งต่างๆ (ตอนที่ 2)
ใครยังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 ก็ย้อนกลับไปอ่านได้ ที่นี่ นะครับ Building a Second Brain (ตอนที่ 1)

ตอนนี้ก็จะมาพูดถึงว่า เวลาเราจดจำสิ่งต่างๆ เราต้องทำกระบวนการอะไรบ้าง อันนี้พูดถึงในมุมมองของคนทั่วไปนะครับ ไม่ได้มองในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อันนั้นคงไปหาอ่านได้ทั่วไป
ปกติเวลาเราจะจดจำอะไรสักอย่าง มักจะต้องผ่านขั้นตอนพื้นฐานดังต่อไปนี้
- รับรู้ ผ่านประสาทสัมผัสประสาทสัมผัสของเรา เช่น ผ่านการมองด้วยตา หรือได้ยินด้วยหู
- จัดเก็บบันทึกไว้ในหน่วยความจำของเรา ก็คือสมองนั่นเอง

แล้วตอนเราจะเรียกคืนความทรงจำเหล่านั้น ก็มักจะต้องผ่านกระบวนการดังนี้
- ค้นหาข้อมูลในสมองเรา ซึ่งมักจะเกิดโดยอัตโนมัติ หรือหากบางครั้งค้นหาไม่เจอ ก็จะเกิดอาการประเภท “ลึม” หรือ “นึกไม่ออก“
- นำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้งาน
ดังนั้น ถ้าเราต้องการเลียนแบบการทำงานของสมองมาเป็นดิจิตอล ก็น่าจะสรุปออกมาได้ดังนี้
- รับข้อมูลที่เข้ามาหาเรา
- จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอล
- บริหารจัดการข้อมูลในรูปแบบที่เราจะเรียกคืนกลับมาใช้งานได้ง่าย
- นำข้อมูลที่จัดเก็บไว้มาใช้งาน
ข้อมูลอะไรบ้างที่เราจะจัดเก็บ
ผมขอสรุปข้อมูลที่จะจัดเก็บ และรุปแบบที่เราจะจัดเก็บไว้ในตารางเดียวกันเลย ดังนี้
ข้อมูลที่จะจัดเก็บ | ||
---|---|---|
ตัวอักษร | ข้อความ | ไฟล์ข้อความ |
ข้อความ | เก็บเป็นภาพ | |
ข้อความ | อีเมล | |
ข้อความ | ไฟล์เอกสาร | |
ภาพ | ภาพนิ่ง | เก็บเป็นภาพ |
วิดีโอ | เก็บเป็นไฟล์วิดีโอ | |
เสียง | เสียงประเภทต่างๆ | ไฟล์เสียง |
ในตอนหน้าเอง ก็จะมาคุยกันต่อว่า เราจะใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ และจะมีการบริหารจัดการข้อมูลเหล่านี้อย่างไรให้สามารถจัดเก็บและนำออกมาใช้งานได้โดยง่าย โดยที่จะต้องคำนึงไว้เสมอว่า ในบทความชุดนี้ เราจะเน้นให้กระบวนการต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติ ทำได้ทุกเวลาและสถานที่ เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมชาติของสมองของเราที่ใช้ในการจดจำเรื่องราวต่างๆและนำสิ่งที่จำไว้ออกมาใช้งานนั่นเอง