จะดีกว่าไม๊ถ้ามีสมองที่ 2 มาช่วยจำสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายในชีวิตประจำวันของเรา สมองที่สองในรูปแบบดิจิตอลที่ไม่มีวันลืม
เราทุกคนคงเคยที่จะพยายามจดจำ หรือบันทึกสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราในช่วงเวลาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเรียน ช่วงทำงาน หรือการจดบันทึกไดอารี่ต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน แน่นอนว่าเราก็คงใช้การบันทึกในรูปแบบดิจิตัลมากกว่าการเขียนในสมุดเหมือนสมัยก่อน แต่หลายๆครั้งที่สิ่งที่เราบันทึกก็สูญหายไปกับคลังข้อมูลของเรา เทียบได้กับการ “ลืม” ที่เราพยายามบันทึกทุกสิ่งอย่างไว้ในสมองน้อยๆของเรานั่นเอง จึงเป็นที่มาของการพยายามที่จะหาวิธีที่ดีที่สุดในการจดบันทึกต่างๆเพื่อรักษาความทรงจำที่มีให้สามารถเรียกคืนกลับมาได้นานที่สุด
รูปแบบของการจดบันทึก
ส่วนใหญ่เราจะมีการจดบันทึกอยู่หลายแบบ ซึ่งผมพอจะสรุปได้ ดังนี้
- บันทึกชั่วคราว เช่น จดอีเมลชั่วคราวก่อนไปส่งเมลในแอพ , จดตัวเลขแสดงราคาของสินค้า หรืออื่นๆ ลักษณะนี้เรามักใช้โปรแกรมง่ายๆในการจด เช่น Notepad, TextEdit ในการจด แล้วไม่ Save ลงเครื่อง (มือถือ, ไอแพด หรือ คอมพิวเตอร์)
- บันทึกระยะกลาง เช่น การ flag หรือ starred เมลใน GMail เพื่อจะได้ย้อนกลับมาอ่านภายหลัง หรือการ save link ใน Facebook เพื่อจะได้มาอ่านโพสต์นั้นภายหลังได้สะดวก เป็นต้น
- บันทึกระยะยาว เช่น การจดบันทึกขั้นตอนการงานต่างๆไว้เรียกใช้เมื่อต้องการ หรือจดข้อมูลสูตรอาหาร หรือ เลขที่บัญชีธนาคาร บางครั้งก็เป็นการจัดเก็บในลักษณะของรูปภาพ ซึ่งการบันทึกในลักษณะนี้ มักจะต้องใช้โปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความ และรูปภาพ หรือเสียง โปรแกรมเหล่านี้ที่รู้จักกันดี เช่น EverNote, OneNote, Notion เป็นต้น หรือบางคนก็อาจเขียนเป็น Blog ไม่ว่าจะเป็นแบบ Public หรือ Private ก็ถือเป็นบันทึกระยะยาวรูปแบบหนึ่ง
ปัญหาที่เกิด
แม้เราจะมีโปรแกรมช่วยในการบันทึกข้อมูล แต่หลายครั้งเองเราก็ไม่ได้บริหารจัดการการใช้โปรแกรมเหล่านั้นให้ดี ทำให้หลายๆครั้งเราก็ไม่สามารถหาข้อมูลเหล่านั้นได้ง่ายนักเมื่อถึงเวลาที่ต้องการ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการ “ลืม” ในการจดจำสิ่งเหล่านั้นในสมองนั่นเอง
แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
วิธีการที่จะแก้ปัญหาในเรื่องของการจดบันทึกต่างๆให้ค้นหาง่ายนั้นก็ไม่ใข่ว่าจะเป็นเรื่องที่สุดวิสัยในการทำ โดยแนวคิดนั้นจริงๆก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรมาก แต่มีคนๆหนึ่งใช้คำที่เหมาะและทำให้เราสามารถประยุกต์การจัดเก็บบันทึกดิจิตอลได้เป็นธรรมชาติที่สุด คือคำว่า Second Brain หรือ สมองที่ 2 นั่นเอง หลักการคือทำอย่างไรถึงจะถ่ายทอดขั้นตอนการจดจำและนำมาใช้งานของสมองของเรา ให้สามารถทำได้ในรูปแบบของดิจิตอล ซึ่งจะทำให้การจัดเก็บ เรียบเรียง และนำข้อมูลออกมาใช้งานทำได้คล้ายกับสิ่งที่สมองของเราทำนั่นเอง เพียงแต่ว่าสมองที่สอง หรือ Sencond Brain ของเราจะ “ไม่มีวันลืม” ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากใช่ไหมครับ
Building a Second Brain (ตอนที่ 2)
อ้างอิง: https://www.buildingasecondbrain.com